วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อิทธิพลของครอบครัวต่อชีวิตประจำวัน

อิทธิพลของครอบครัวต่อการดำรงชิวีต
ผู้จัดทำ
นางสาวนภัสสร นิลน้อยศรี ม.5/7 เลขที่3
นางสาวภาษิตา จันทร์เพ็ญ ม.5/7 เลขที่4
นางสาวศตพร พิบูลศุภนนท์ ม.5/7 เลขที่6
นางสาวอรณิชา ตระกาลกูล ม.5/7 เลขที่8
นายฉัตรเพชร พรประสิทธิ์ ม.5/7 เลขที่11
นายภูมิธวัช วชิราพรพฤฒ ม.5/7 เลขที่20


ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่สําคัญที่สุด เป็นหน่วยของสังคมที่มีความสัมพันธ์ และความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เป็นสถาบันที่มีความคงทนที่สุด และยังไม่เคยปรากฏว่า สังคมมนุษย์ใดไม่มีสถาบันครอบครัวปรากฏอยู่ เพราะมนุษย์ทุกคนจะต้องอยู่ในสถาบันนี้ เนื่องจากเป็นสังคมกลุ่มแรกที่ เราจะต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดจนเติบโตในครอบครัว ครอบครัวจะให้ตําแหน่ง ชื่อและสกุล ซึ่งเป็นเครื่องบอกสถานภาพและบทบาทในสังคมที่ เรามีส่วนร่วมด้วย ตลอดจนกําหนดสิทธิและหน้าที่ที่สมาชิกมีต่อกันและต่อสังคม

ความหมายของครอบครัว
ครอบครัว ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน ได้แก่ สามี ภรรยาและบุตร นอกจากนี้นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา ต่างก็ให้ความหมายของครอบครัว ในลักษณะที่แตกต่างกัน ในความหมายทางสังคมวิทยา ครอบครัว คือรูปแบบของการที่ บุคคล 2 คน หรือกลุ่มบุคคลสร้างแบบ (pattern) หรือโครงสร้าง (structure) ของการอยู่ ร่วมกันในความหมายของนักจิตวิทยา ครอบครัวคือสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่มนุษย์ สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเเป็นตัวแทนของสถาบันสังคมภายนอกที่จะ ปลูกฝังความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติกับสมาชิกรุ่นใหม่ของสังคมที่มีชีวิตอุบัติขึ้นใน ครอบครัว
สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย  ได้นิยามคําว่าครอบครัว จากแง่วิชาการต่างๆ ความหมายของครอบครัวก็ต่างกันออกไป
ในแง่ชีววิทยา ครอบครัวหมายถึง กลุ่มคนที่ เกี่ยวพันกันทางสายโลหิต เช่น สามี ภรรยามีบุตร บุตรเกิดจากอสุจิของบิดาผสมกับไข่สุกของมารดา ฉะนั้นบิดามารดากับบุตร จึงเกี่ยวพันกันทางสายโลหิตแล้วแต่โครโมโซมและยีนที่บุตรได้รับมาจากทั้งบิดาและ มารดา
ในแง่กฎหมาย ชายหญิงจดทะเบียนสมรสกัน มีบุตร คนเหล่านี้เป็นครอบครัว เดียวกันตามกฎหมาย บิดามารดาและบุตรมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมาย บุตรมี สิทธิ์รับมรดกจากบิดามารดา ถ้าไม่มีบุตรผู้สืบสายโลหิตขึ้นไปหรือลงมาโดยตรง หรือที่จด ทะเบียนเป็นบุตรธรรม ก็นับว่าเป็นครอบครัวเดียวกันตามกฎหมาย
 ในแง่เศรษฐกิจ ครอบครัวคือคนที่ใช้ จ่ายร่วมกัน จากเงินงบเดียวกัน ที่ทําการสมรสแล้วแยกบ้านไปอยู่ต่างหาก แต่มีพันธะทางศีลธรรมที่  จะเลี้ยงน้อง คือ ต้องส่งเสียให้ เงินน้องเล่าเรียน เช่นนี้นับว่าใช้จ่ายจากงบเดียวกัน และเป็นครอบครัวเดียวกัน
ในแง่สังคม ครอบครัวคือกลุ่มคนที่รวมอยู่ในบ้านเดียวกัน อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว พันทางสายโลหิตหรือทางกฎหมาย แต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์กัน ให้ความรักและความเอาใจ ใส่ต่อกัน มีความปรารถนาดีต่อกัน เช่น ลูกของลูกจ้างอยู่ในบ้านเดียวกัน เจ้าของบ้าน เลี้ยงดูให้ความเอาใจใส่ ความรัก ก็นับว่าเด็กนั้นเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในแง่สังคม



หน้าที่ของครอบครัว
หน้าที่ของครอบครัว (Functions of the Family) ครอบครัวเป็นสถาบันที่สังคมสร้างขึ้น เพื่อให้ทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่สังคม หลายประการ สังคมย่อมให้การสนับสนุนครอบครัวอย่างมั่นคง โดยมุ่งหวังให้ครอบครัวทําหน้าที่ซึ่งสังคมมอบหมายอย่างสมบูรณ์ หน้าที่ของครอบครัว คืองานที่ ครอบครัวพึงปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่มวลสมาชิก ในครอบครัวเพื่อให้สมาชิกเหล่านั้นอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยที่ ครอบครัวเป็น สถาบันที่ เก่าแก่และจําเป็นที่สุดของมนุษย์ครอบครัวจึงมีการทําหน้าที่ต่าง ๆ แบบ เดียวกันในทุกสังคมของมนุษย์จนเราอาจเรียกได้ว่าเป็นหน้าที่สากล คือเป็นหน้าที่ซึ่ง ครอบครัวของทุกสังคมต้องกระทํา เฉลียว บุญยงค์ (2538, 47) ได้สรุปหน้าที่ของ ครอบครัวโดยทั่วไป ได้ดังนี้
1. หน้าที่ ทางชีววิทยา หรือหน้าที่การให้กําเนิดแก่สมาชิก ความต้องการทางสรีระ 
2. หน้าที่ในการอบรมเลี้ ยงดูเด็ก เมื่อครอบครัวผลิตเด็กออกมาแล้ว พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง จะต้องช่วยกันเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนให้เด็กได้จริญเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคมต่อไป หน้าที่นี้นับว่าสําคัญมาก ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสําคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ
 2.1 การเลี้ยงดูเด็กอ่อนเพื่อให้มีร่างกายแข็งแรงเจริญเติบโต มีจิตใจสมบูรณ์
 2.2 การอบรม สั่งสอนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามให้เด็ก โดยที่ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีภาวะเป็นเด็กอ่อน ต้องพึ่งพาอาศัยอยู่กับครอบครัวของตนนาน มากกว่าลูกของสัตว์ประเภทอื่น ๆ ฉะนั้นโอกาสในการเรียนรู้ถ่ายทอดลักษณะอุปนิสัยใจ คอ บุคลิกภาพต่าง ๆ จากญาติที่ใกล้เคียง ผู้ซึ่งเลี้ยงดูตนมาโดยพ่อ แม้ จึงมีอยู่มาก ฉะนั้นถ้าลูกมีอุปนิสัยที่ไม่ดีหรือเป็นสมาชิกที่ เลวของสังคม ความผิดย่อมตกเป็นของ ครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
3. หน้าที่ในการให้ความรัก หน้าที่นี้ยังไม่มีสถาบันใดทําแทนได้ดีกว่าครอบครัว ความรักที่ เด็กได้รับจากบิดามารดา หรือจากครอบครัวตนเป็นความรักที่ต่อเนื่อง ไม่มีวัน สิ้นสุด เด็กที่ ขาดความรักขาดความเอาใจใส่จากครอบครัว มักจะก่อปัญหาขึ้นเพื่อ เรียกร้องความสนใจ เด็กมักจะมีความโกรธ ขี้อิจฉา ไม่รักใคร จะปรับตัวให้เข้ากับ บุคคลภายนอก ครอบครัวก็มักจะปรับไม่ได้หรือได้ก็ไม่ดีพอ เมื่อถึงวัยแต่งงานก็ปรับตัว ให้เข้ากับคู่สมรสของตนไม่ได้
 4. หน้าที่ในทางเศรษฐกิจ คือการหาเงินมาใช้จ่ายเลี้ยงดูสนองความต้องการตาม ปัจจัยสําคัญ 5 ประการ คือ อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และการศึกษา อันเป็น ความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์หน้าที่ ทางเศรษฐกิจของครอบครัวชาวตะวันตกกับ ครอบครัวชาวตะวันออก มีลักษณะแตกต่างกันบ้าง ในสังคมชาวตะวันตกการที่ชายและ หญิงมาสมรสกันก็ถือว่าชีวิตสมรสคือหุ้นส่วน มีการแบ่ความรับผิดชอบ คู่สมรสบางคู่ ผลัดกันทําหน้าที่ หาเงินเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งศึกษาต่อวิชาชีพ บุตรต้องขอยืมเงินจากบิดา มารดา ต้องรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจต่อบุตรมาก ต้องส่งเสียสนับสนุนในทางการเงิน จนกว่าบุตรของตนจะแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหาก
5. หน้าที่ในการให้ความปลอดภัย บิดา มารดา มีหน้าที่ให้ความปลอดภัยแก่บุตร นับตั้งแต่บุตรปฏิสนธิเมื่อคลอดออกมาแล้วบุตรจะต้องได้รับการปกป้องอย่างรอบครบ ความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ความก้าวหน้าในทางโภชนาการ จะช่วยให้ครอบครัว ปลอดภัยและเจริญเติบโตแข็งแรง นอกจากพ่อ แม่ จะให้ความปลอดภัยแก่บุตรโดยตรง แล้ว สมาคมผู้ปกครอง สมาคมสุขภาพจิต คลินิกสุขวิทยาจิต ฯลฯ ล้วนเป็นสถาบันที่ช่วย ปกป้องอันตรายให้ความปลอดภัยแก่เด็กให้ความรู้แก่ครอบครัว เพื่อทําหน้าที่นี้ได้อย่างดี
6. หน้าที่ในการให้การศึกษา การศึกษาในตอนเริ่มแรกชีวิตนั้น เด็กไม่ได้รับไป จากการสั่งสอนด้วยวาจาอย่างเดียว แต่เรียนรู้โดยการเลียนแบบด้วยในฐานะครูคนแรก ของบุตร บิดา มารดา จะต้องให้ความรู้ทุก ๆ ด้านแก่บุตร ให้บุตรยอมรับและเข้าใจ วัฒนธรรมของชุมชน ถ้าครอบครัวมีสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเด็ก การศึกษาของเด็กก็จะดีทั้ง ด้านคุณภาพและปริมาณ การศึกษาในครอบครัวจะเป็นผลเพียงไรนั้ นย่อมขึ้นอยู่กับแรง เสริมที่ ครอบครัวให้แก่เด็ก เด็กที่บิดามารดาฝึกให้ช่วยตนเองจะเป็นคนทํางานเป็น รับผิดชอบในการงาน วินัยที่ ครอบครัวฝึกให้ย่อมช่วยให้เด็กเป็นคนที่อยู่ในระเบียบวินัย
7. หน้าที่ในทางศาสนา ศาสนาเป็นเครื่องผ่อนคลายความกดดันในชีวิตประจําวัน ผู้ใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและเป็นเครื่องชําระจิตใจให้บริสุทธิ์ย่อมมีโอกาสที่ จะมี ชีวิตที่มีคุณภาพมากกว่าคนที่ ละเลยต่อศาสนา สภาพของสังคมในปัจจุบันได้ชี้ให้เห็นถึง ปัญหาต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ปัญหาอาชญากรรม การฉ้อราษฎร์บังหลวง การไม่ ละอายต่อบาปล้วนแต่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยที่มีจํานวนไม่น้อยเป็นพุทธศาสนิกชนแต่ ชื่อ สักแต่ว่านับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่ได้ประพฤติและปฏิบัติตนตามกฎและหลักการแห่ง ศาสนาพุทธ ครอบครัวควรจะอบรมสั่งสอนและชักจูงให้บุตรได้กระทําหน้าที่อันเป็น ศาสนกิจประจําวัน เช่น การทําบุญตักบาตร การสวดมนต์ไหว้พระ การทําใจให้สะอาด ปราศจากอหิงสา (ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ) ประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในพรหมวิหาร4 (เม ตรา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา) ถ้าบุตรเข้าใจและปฏิบัติได้ก็จะทําให้จิตใจเป็นสุข ครอบครัวควรจะทําหน้าที่ เหล่านี้ตั้งแต่บุตรของตนยังอยู่ในวัยเด็ก ซึ่งเป็นเวลาที่ เด็กเรียนรู้ ได้ง่าย
 8. หน้าที่ในทางสันทนาการ การขจัดปลดปล่อยความเคร่งเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์การปลดปล่อยความเคร่งเครียดทาง อารมณ์เป็นเรื่องจําเป็นสําหรับผู้ใหญ่แต่สําหรับเด็กการให้เล่นอย่างสนุกสนานเป็นส่วนที่ ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ พร้อมกันหลายด้าน ครอบครัวจึงควรจัดสันทนาการ ให้กับเด็กทั้งในบ้านและในบริเวณบ้าน รวมทั้งนอกบ้านด้วย
9. หน้าที่ในการสงเคราะห์คนชรา หน้าที่นี้เป็นแนวโน้มในสังคมที่น่าเป็นห่วง กล่าวคือสังคมถือว่าบิดา มารดา


ด้านการให้ความรัก : สนับสนุนด้านอารมณ์ + กำหนดสถานภาพ

การสนับสนุนทางด้านอารมณ์

                การสนับสนุนทางด้านอารมณ์เป็นหน้าที่หนึ่งของสถาบันครอบครัวซึ่งกระทำโดยการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน การอบรมเลี้ยงดูสั่งสอนมีสามลักษณะดังนี้
1 แบบเข้มงวด เป็นแบบการเลี้ยงดูที่เข้มงวดกับลูกสูงมาก ตั้งกฎเกณฑ์และระเบียบ มากมาย และคาดหวังว่าต้องได้รับการปฏิบัติตามทุกอย่างโดยไม่ต้องทราบเหตุผล พ่อแม่แบบนี้จะไม่อธิบายเหตุผลในกฎเหล่านั้นด้วย หากไม่ทำตามจะใช้อำนาจบังคับ ลงโทษทางกายหรือด้วยวิธีต่าง ๆ  ถ้าหากประกอบด้วยความชิงชัง ทำให้เด็กที่เติบโตขึ้นเป็นพวกต่อต้านสังคม ชอบก่อเหตุรุนแรง

2 แบบยึดหยุ่นในเกณฑ์ เป็นแบบการเลี้ยงดูที่ยืดหยุ่นได้ ให้ลูกมีอิสระตามสมควร กำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนและอธิบายเหตุผลว่าทำไมต้องเข้มงวด ตอบสนองความต้องการและรับฟัง ความคิดเห็นของลูก แต่ลูกยังต้องปฏิบัติตามกฎที่กำหนดไว้   เป็นแบบการเลี้ยงดูลูกที่ส่งผลให้เด็กเติบเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม แสดงพฤติกรรมที่มีเหตุผล มีนิสัยเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ร่วมมือกับผู้อื่น เคารพกติกา และมีวินัยในตนเอง
3 แบบผ่อนปรน เป็นแบบการเลี้ยงดูที่ผ่อนคลายมาก พ่อแม่ไม่ตั้งกฎเกณฑ์หรือคาดหวังในลูกมากนัก ปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์และการกระทำตามต้องการได้ ไม่เข้มงวดหรือควบคุมพฤติกรรมของลูก ให้อิสระในตัวลูกค่อนข้างมาก


การกำหนดสถานภาพ

           1 บทบาท เป็นพฤติกรรมที่คาดหวังต่อสมาชิก อาจกำหนดไว้ชัดเจนเป็นบันทึกอย่างเปิดเผยว่า สมาชิกคนไหน ควรมีบทบาทอย่างไร แม้จะไม่ครอบคลุมทุกอย่าง แต่เป็นกรอบสำคัญให้สมาชิกในกลุ่มได้ปฏิบัติ ในกรณีที่บุคคลหนึ่ง เป็นสมาชิกของหลายกลุ่มที่มี บทบาท ขัดแย้งกัน อาจทำให้ พฤติกรรมของคนนั้นมีปัญหา เรื่องความขัดแย้ง ในบทบาทได้
2 ปทัสถาน เป็นกฎกติกาของกลุ่มเกี่ยวกับพฤติกรรม หรือการปฏิบัติที่สมาชิกส่วนใหญ่ ยอมรับว่า อะไรควรปฏิบัติ อะไรเป็นข้อห้าม จะเป็นเรื่องทั่วไปที่มีผลกระทบกับส่วนใหญ่ของกลุ่ม มากกว่าเรื่องส่วนบุคคล สมาชิกของกลุ่ม ทุกคน ต้องยึดถือปทัสถานนี้
3 สถานภาพ เป็นการกำหนดระดับชั้นของสมาชิกกลุ่มในสังคม เป็นการให้ความสำคัญหรือยกย่องกัน สถานภาพ จึงเป็น การเปรียบเทียบ ฐานะทางสังคมว่า ใครสูงกว่าใคร ซึ่งการได้สถานภาพ บางอย่างก็จะมี บทบาทที่กำหนดใน การครองสถานภาพ นั้นด้วย

การอบรมและการเลี้ยงดู

          ทุกคนมีลูกที่ต้องอบรมเลี้ยงดู และย่อมเป็นความต้องการสูงสุดของผู้ที่เป็นพ่อแม่คือ ความสำเร็จในการอบรมเลี้ยงดูลูก เพื่อให้เป็นคนดี และเป็นคนที่มีความสามารถ พ่อแม่หลายคนอาจประสบปัญหาอุปสรรคบ้าง ก็ฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านั้น เพื่อพบทางออกที่ดี และการให้ความรักอย่างเพียงพอ ถือเป็นเรื่องสำคัญในสังคมยุคนี้
ปัจจัยที่ทำให้ลูกได้รับการอบรมที่ดี
1.       พ่อแม่มีความสม่ำเสมอในเรื่องของความอดทน และสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเป็นอย่างดี
2.       สื่อความหมายกับลูกให้ชัดเจน ปากกับใจต้องตรงกัน
3.       ทำความเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของลูกว่ามีความหมายอย่างไร ทำไปเพื่ออะไร เพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
4.       ให้ความมั่นใจ ใส่ใจพฤติกรรมที่ถูกต้อง มากกว่าการจับจ้องพฤติกรรมที่พ่อแม่ยังไม่พอใจ
5.       ชมเชยสิ่งที่ดีของเขา
6.       สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในบ้านให้สามารถเล่นรื้อค้นได้อย่างปลอดภัย กรณีมีลูกอยู่ในวัยกำลังเล่น กำลังซน
7.       กำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้าใจง่าย บอกให้รู้ว่าอะไรที่พ่อแม่ต้องการให้ทำ และอะไรที่ไม่ต้องการให้ทำ
8.       สถานการณ์บางขณะในบ้าน เช่น พี่น้องทะเลาะกัน อาจนำไปสู่การเกิดอารมณ์รุนแรง พ่อแม่ต้องรีบตัดไฟแต่ต้นลม รู้จังหวะที่จะเข้าไปจัดการอย่างเหมาะสม


       ปัจจุบัน การมีเวลาให้กับครอบครัว ถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับพ่อแม่ในยุคนี้ พ่อแม่หลายคนมักไม่เห็นความสำคัญของเรื่องเวลา ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวมีความรุนแรง
       สิ่งที่ครอบครัวจะปฏิเสธไม่ได้คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว พ่อแม่ควรสอนทักษะในการแก้ปัญหาที่ถูกต้องให้แก่ลูกด้วย ในฐานะเป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิตมาก่อน หรืออาจขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่ใกล้ชิดหรือไว้วางใจ ให้เป็นผู้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาให้แก่ลูกก็ได้ ทั้งนี้
       อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จในการอบรมเลี้ยงดูลูกนั้น นอกจากจะต้องเสริมสร้างบทบาทแห่งตนดังกล่าวแล้ว จะต้องเป็น “นักฟัง” ที่ดีอีกด้วย กล่าวคือ มีความตั้งใจรับฟังลูกอย่างจริงจัง จริงใจ พ่อแม่ที่ "ได้ยิน" ลูก จะรับรู้และเข้าใจว่าลูกกำลังจะบอกอะไร และควรสนับสนุนให้แสดงความรู้สึกที่ดีและไม่ดีออกมา การให้คำแนะนำเชิงเสนอแนะ หรือใช้คำพูดสั้น ๆ ได้ใจความ ดีกว่าการอธิบายหรือเทศนายืดยาว ตลอดจนการเปิดโอกาสให้คิดด้วยตนเองก่อน แล้วจึงเสนอแนะวิธีการของพ่อแม่ภายหลัง

เศรษฐกิจ
            ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลต่อครอบครัว ซึ่งหมายรวมไปถึงมุมมองของการสร้างครอบครัว และการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว โดยจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของการตัดสินใจแต่งงาน การครองโสด และ การหย่าร้างของประชากร

การแต่งงานนับเป็นจุดเริ่มต้นของครอบครัว เมื่อคู่สมรสตัดสินใจแต่งงานย่อมมีความหวังที่จะใช้ชีวิตร่วมกับ คู่ครองของตนอย่างมีความสุขในระยะยาว  แต่ในความจริงแล้วมิใช่ว่าทุกคู่จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต ครอบครัวเสมอไป หลายคู่ต้องเผชิญกับปัญหานานาประการ อาทิเช่น ปัญหาความฝืดเคืองของรายได้ ความขัดแย้ง ทางด้านหน้าที่รับผิดชอบในครอบครัว หรือข้อจำกัดในการเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ย่อมสร้างความ ร้าวฉาน และบดบังความสุขที่ควรจะได้รับจากครอบครัว

อิทธิพลพระพุทธศาสนาของครอบครัว

ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาจริยธรรมของเด็ก  เด็กจะเป็นคนดีหรือไม่นั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้ปกครองเป็นส่วนมาก  ผู้ปกครองควรปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในตัวเด็ก  ด้วยการทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ควรส่งเสริมให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาควบคู่ไปด้วย เพราะการใกล้ชิดกับศาสนาจะส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรมได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นการอบรมเด็กเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็ก การใช้เหตุผลที่ไม่สูงเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนักจะมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก การเลี้ยงดูโดยการใช้เหตุผลจะทำให้เด็กเป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว รู้จักรับผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณาแก่สัตว์เลี้ยงและผู้อื่น 

ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาจริยธรรมของเด็ก  เด็กจะเป็นคนดีหรือไม่นั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้ปกครองเป็นส่วนมาก  ผู้ปกครองควรปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในตัวเด็ก  ด้วยการทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ควรส่งเสริมให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาควบคู่ไปด้วย เพราะการใกล้ชิดกับศาสนาจะส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรมได้ง่ายขึ้น ครอบครัวตัวอย่างที่ผู้วิจัยได้ศึกษามาชี้ให้เห็นว่า   ครอบครัวที่บิดามารดามีความรู้เกี่ยวกับศาสนาที่นับถืออยู่และปฏิบัติธรรมนั้นโอกาสที่ลูกจะได้เป็นคนดีนั้นมีสูง  เพราะบิดามารดาทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีและสอนลูกให้มีคุณธรรมตามตน  จะเห็นได้ว่าครอบครัวเหล่านี้เน้นหนักในเรื่องศาสนาในการสอนบุตรหลานของพวกเขาและบิดามารดาที่อบรมเลี้ยงดูบุตรเพื่อส่งเสริมให้บุตรเป็นคนดีมีคุณธรรมตามแนวทางของศาสนานั้น เป็นบิดามารดาที่มีลักษณะทางสูง เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ให้การปฏิสัมพันธ์กับบุตรอย่างใกล้ชิดและมีคุณภาพด้วย และตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทของตนด้านการถ่ายทอดทางศาสนาเป็นอย่างมาก
           จึงอาจสรุปได้ว่า  ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กมาก  ดังนั้นทุก ๆ ฝ่ายควรตระหนักถึงความสำคัญนี้  มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน  และลดคุณค่าของวัตถุลง  เด็กจะได้มีคุณธรรมอยู่ในใจ  และมีความประพฤติดีงามตามมา  การจะสร้างเด็กให้เป็นคนมีคุณภาพแท้จริงนั้น  เราควรจะให้ความสำคัญแก่จิตใจเป็นพิเศษ  เด็กถึงจะกลายเป็นคนที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งขึ้นไปได้

อิทธิพลการให้การศึกษาของครอบครัว

ผู้ปกครอง คือ ครูคนแรกของเด็กและเด็กก็ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากที่บ้านโดยไม่ต้องได้รับอิทธิพลหรือได้รับการสอนอย่างเป็นทางการจากสถานศึกษาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่เมื่อเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาหรือโรงเรียนอนุบาลแล้ว การเรียนรู้จะต้องเชื่อมต่อและเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและครอบครัวเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กนั้นต่อเนื่องและทำให้การเรียนรู้มีความหมายต่อเด็ก อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยอาจจะเริ่มจากการหาสถานที่ประจำซึ่งเงียบสงบให้เด็กทำการบ้าน จัดสถานที่ในการจัดแสดงผลงานต่างๆ ของเด็ก จัดสื่อ เกม หนังสือที่เหมาะกับการพัฒนาบุคคลิกภาพของเด็กในวัยนี้ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกช่วยเหลือตนเอง ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ตามวัยอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกความมีวินัยให้กับเด็กอีกด้วย เรียกได้ว่า วินัยเริ่มที่บ้านและเป็นวินัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นช่วยเก็บของเล่นเมื่อเลิกเล่น เก็บของเล่นเป็นที่ รับประทานอาหารเป็นที่เป็นต้น 

นอกจากนั้นการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการศึกษาของลูก มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสำเร็จของลูกมากกว่า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสำเร็จของลูกมากกว่าคุณภาพของโรงเรียนครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญมากในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็ก ถ้าครอบครัวประสบความล้มเหลว โรงเรียนก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กเรียนรู้มากที่สุดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่อยู่รอบตัว จากการสังเกตการกระทำของพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กพ่อแม่ต้องเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก โดยพยายามเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักวิธีการ

  - รูปแบบที่ 2 ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างครอบครัวกับโรงเรียน ครอบครัวเพิ่มบทบาทมาเป็นผู้จัดการศึกษาในระดับหนึ่งภายใต้ข้อตกลงระหว่างครอบครัวกับโรงเรียนอย่างเป็นทางการ การมีส่วนร่วมในรูปแบบนี้จึงต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจนว่าฝ่ายไหนจะรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง เช่น เรียนในโรงเรียนภาคทฤษฎี และเรียนกับครอบครัวภาคปฏิบัติ ในลักษณะนี้การเรียนการสอนจะต้องปรับให้ยืดหยุ่นเอื้ออำนวยให้กับโรงเรียนและครอบครัว ครูจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ เน้นเฉพาะด้านวิชาการ ส่วนครอบครัวเพิ่มบทบาทการเป็นผู้ปกครองอย่างเดียวมาเป็นผู้ให้ความรู้ให้การศึกษาแก้ลูกอย่างเป็นระบบด้วย

  - รูปแบบที่ 3 การมีส่วนร่วมโดยครอบครัวจัดการศึกษาเอง ลักษณะนี้ครอบครัวจะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาทั้งหมด โดยไม่ต้องไปเรียนที่โรงเรียน เด็กจะเรียนที่บ้าน โดยพ่อแม่เป็นครูผู้สอน หรือที่เรียกว่า การจัดการศึกษาโดยครอบครัว 

การจัดการศึกษารูปแบบที่ 3 เป็นการจัดการศึกษาโดยครอบครัวอย่างเต็มรูปแบบ ครอบครัวดูแลรับผิดชอบเองทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการจัดการเรียนการ สอน เนื้อหาหลักสูตร การจัดกิจกรรมและการวัดผลประเมินผล 

  ครอบครัวกับวัยรุ่น